ตัวอย่าง สิ่งของที่จะเอามาเก็บในโกดังเก็บของ พร้อมข้อควรระวังและแนวทาง

โกดังเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ หรือสินค้าอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งการจัดเก็บสินค้าในโกดังนั้น สินค้าทุกชิ้นต้องมีความเป็นระเบียบและถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย ดังนั้นในการจัดเก็บสินค้าจึงต้องพิจารณาถึงสิ่งของที่จะนำมาเก็บในโกดังว่าเป็นสินค้าชนิดไหน เพื่อจะได้มีความระมัดระวังในการจัดเก็บ ในบทความนี้เราก็มีตัวอย่างสิ่งของที่จะเอามาเก็บในโกดังเก็บของ พร้อมข้อจำกัด ข้อควรระวัง และแนวทางในการจัดเก็บ เพื่อผู้ประกอบการจะได้จัดเก็บสินค้าในโกดังได้อย่างถูกต้อง

1. สินค้าสำเร็จรูป

สินค้าสำเร็จรูป คือ สินค้าที่ถูกผลิตออกมาสมบูรณ์แบบแล้ว และพร้อมนำไปวางจำหน่ายให้กับลูกค้า หรือจะหมายความว่าการสต๊อกสินค้าที่พร้อมไปจำหน่ายก็ได้ ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า, อาหารแห้งที่บรรจุภัณฑ์อย่างดี, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อาหารเสริม, เครื่องสำอาง, ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

ข้อควรระวังในการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป

  • สินค้าบางประเภทอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ หากมีการวางซ้อนกันเยอะเกินไป หรือการวางซ้อนกันแบบไม่สนน้ำหนัก ก็อาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหายจากการถูกกดทับได้
  • สินค้าบางประเภท เช่น อาหารเสริม, อาหารแห้ง หรือแม้แต่เครื่องสำอาง เมื่อสัมผัสกับความชื้นหรืออุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมก็เกิดความเสียหายได้เช่นกัน อาจมีการเปลี่ยนสี หรือเสียคุณสมบัติบางอย่างได้
  • สินค้าประเภทอาหารและยาต้องแยกเก็บจากสินค้าอื่นๆ เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนได้

แนวทางในการจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป

  • ให้จัดเก็บตามขนาดของสินค้า น้ำหนักมากไว้ด้านล่าง น้ำหนักเบาไว้ด้านบน และจัดวางสินค้าให้มั่นคง เว้นระยะห่างสินค้ากับผนังและระหว่างสินค้า เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี ทางที่ดีควรวางบนชั้นวางหรือพาเลทเพื่อป้องกันแมลง และความสกปรก ที่อาจทำให้สินค้าเสียหายได้
  • บันทึกตำแหน่ง จำนวน และวันที่เข้าออกของสินค้า เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการจัดการสินค้า
  • ติดป้ายบนกล่องหรือชั้นวางด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

2. วัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสำหรับการผลิต

วัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสำหรับการผลิต เป็นสินค้าที่อยู่ในลักษณะที่ยังไม่สมบูรณ์ รอการแปรรูปให้เป็นสินค้าพร้อมจำหน่าย ตัวอย่างเช่น ม้วนผ้า, เม็ดพลาสติก, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก, เหล็กเส้น, สารเคมี เป็นต้น

ข้อควรระวังในการจัดเก็บวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสำหรับการผลิต

  • ชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กอาจเกิดการสูญหายได้หากจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
  • วัสดุบางชนิดอาจกัดกร่อนหรือทำปฏิกิริยากับวัสดุอื่น
  • วัตถุอย่างสารเคมีอาจต้องมีอาจจัดเก็บที่ปลอดภัย มีการระบายอากาศ มีการแยกประเภทสารเคมี เป็นต้น
  • ในการเคลื่อนย้ายอาจต้องใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมและบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี เพื่อความปลอดภัย

แนวทางในการจัดเก็บวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสำหรับการผลิต

  • จัดเก็บวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนสำหรับการผลิตในพื้นที่ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะสารเคมี ที่ต้องมีพื้นที่จัดเก็บเฉพาะแยกออกมาจากวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอื่นๆ
  • ใช้ระบบ FIFO/FEFO (First-In, First-Out / First-Expired, First-Out) สำหรับวัตถุดิบที่มีวันหมดอายุ หรือต้องการหมุนเวียนสต็อกอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมการเบิกจ่ายสินค้าให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

3. เอกสารต่างๆ

เอกสารต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ใบเสร็จ, เอกสารทางบัญชี, รายงานการประชุม, สัญญา เป็นต้น ซึ่งเอกสารพวกนี้เกิดความเสียหายได้ง่าย ดังนั้นควรใช้ความระมัดระวังในการจัดเก็บเป็นอย่างมาก

ข้อควรระวังในการจัดเก็บเอกสารต่างๆ

  • มด หนู ปลวก ชอบกัดกินกระดาษ ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาเอกสารต่างๆให้ปลอดภัยจากสัตว์เหล่านี้ รวมถึงความชื้นด้วย ที่สามารถทำให้เอกสารเสียหายได้
  • หากเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ ระเบียบ อาจค้นหาลำบาก และเอกสารสำคัญอาจสูญหายได้
  • กระดาษติดไฟง่าย ดังนั้นจึงต้องระวังเรื่องของอัคคีภัยด้วย

แนวทางในการจัดเก็บเอกสารต่างๆ

  • เก็บเอกสารต่างๆไว้ในตู้ หรือลิ้นชักที่มิดชิด เพื่อป้องกันแมลงและความชื้นที่ทำให้เอกสารเสียหาย
  • แยกประเภทเอกสาร จัดเรียงตามวันที่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา
  • จัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการสูญหาย และหากเกิดอัคคีภัยขึ้นมา ก็ยังค้นหาเอกสารได้
  • จำกัดการเข้าถึงเอกสารที่สำคัญ เพื่อความปลอดภัยของเอกสาร

4. วัสดุ อุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง

วัสดุ อุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง เป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในกระบวนการสร้างหรือผลิตโดยตรง แต่จะถูกใช้ในการซ่อมแซมการผลิตสินค้า ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันหล่อลื่นที่ถูกใช้งานกับเครื่องจักรในโรงงาน เป็นต้น

ข้อควรระวังในการจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง

  • อุปกรณ์บางอย่างมีขนาดเล็กอาจเกิดสูญหายได้ง่าย ดังนั้นต้องจัดเก็บให้ดีๆ
  • วัสดุ อุปกรณ์บางประเภทอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ หากมีการวางซ้อนกันเยอะเกินไป หรือการวางซ้อนกันแบบไม่สนน้ำหนัก ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายจากการถูกกดทับได้

แนวทางในการจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง

  • ให้แยกประเภทและขนาดของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดเก็บ จะได้เป็นระเบียบและง่ายต่อค้นหา
  • จัดเก็บอุปกรณ์ในกล่อง หรือชั้นวาง นอกจากนี้ควรจัดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้งานบ่อยในตำแหน่งที่เข้าถึงได้สะดวกด้วย
  • ทำความสะอาดและตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนนำมาเก็บ เพื่อความปลอดภัย

การจัดเก็บสิ่งของในโกดังไม่ว่าจะเป็นสิ่งของชนิดไหนก็ตาม ควรคำนึงถึงความเป็นระเบียบ ความรอบคอบ และความปลอดภัย ก็จะช่วยให้ในโกดังเก็บของทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

PARK FACTORY ผู้ให้บริการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ

ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY

ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : [email protected]
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8

Scroll to Top