โครงสร้างโกดัง โรงงาน ที่รองรับต่อแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวล่าสุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 13.20 น. ความรุนแรง 7.7 ริกเตอร์ ถึงแม้ศูนย์กลางจะอยู่ที่สะกาย ประเทศพม่า แต่ก็สะเทือนมาถึงหลายๆจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพ ที่หลายตึกสั่นไหว จนคนที่อยู่บนตึกรู้สึกได้ และเกิดวิตกกังวลเป็นอย่างมาก รวมถึงตึกของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่กำลังก่อสร้างพังถล่มลงมา จนทำให้หลายคนเริ่มให้ความสำคัญกับโครงสร้างในการสร้างตึก คอนโด รวมถึงโกดังและโรงงานด้วย ที่ต้องมีความแข็งแรง และสามารถรองรับต่อแผ่นดินไหวได้ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด

พิจารณารูปแบบอาคาร

อันดับแรกของการสร้างโกดัง โรงงาน ให้รองรับต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ นั่นก็คือ วิศวกรจะต้องพิจารณารูปแบบของอาคารก่อน โดยคำนึงถึงระบบโครงสร้าง (Structure), การยึดชิ้นส่วนต่างๆ (Anchorage), การยึดโยงโครงสร้าง (Bracing), ข้อต่อ (Connection) และความเหนียวของโครงสร้าง (Ductility) ก่อนการก่อสร้าง อีกทั้งยังต้องพิจารณาพื้นที่ และสภาพดินด้วย

1. ระบบโครงสร้าง (Structure)

ระบบโครงสร้างที่สามารถต้านแผ่นดินไหวได้จะต้องมีรูปทรงที่ดี มีลักษณะโครงสร้างต่อเนื่องสม่ำเสมอทางกายภาพ ทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง มีรูปทรงที่สมมาตร เพื่อลดการบิดตัวและการกระจุกตัวของแรงสั่นสะเทือน หลีกเลี่ยงรูปทรงที่มีมุมหักหรือการเปลี่ยนแปลงขนาดของโครงสร้างอย่างกะทันหัน หากเป็นอาคารสูง จะต้องมีกำแพงรับแรงเฉือน (Shear Wall) หลายชิ้นวางในตำแหน่งที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดผังอาคาร สำหรับทิศทางการวางแนวผนัง ควรหันด้านยาวของผนังให้สามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวได้ทั้งสองทิศทาง

มีหลายอาคารที่ออกแบบให้ชั้นล่างเปิดโล่ง เพื่อใช้เป็นที่จอดรถหรือเป็นห้องโถง จึงออกแบบให้ความสูงของเสาในชั้นล่างมีความสูงมากกว่าเสาในชั้นสองขึ้นไป ซึ่งอาคารลักษณะนี้เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมาก วิธีแก้ก็คือ จะต้องจัดให้ความสูงของเสาชั้นล่างไม่แตกต่างจากชั้นสูงมากนัก, เพิ่มจำนวนเสาชั้นล่างให้มีมากขึ้น, ขยายขนาดหน้าตัดเสาชั้นล่างให้ใหญ่ขึ้น, เสริมค้ำยันด้านข้างทางแนวทแยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านการเคลื่อนตัวทางด้านข้าง

2. การยึดชิ้นส่วนต่างๆ (Anchorage)

จุดเชื่อมต่อระหว่างองค์ประกอบโครงสร้างชิ้น เช่น ตอม่อกับเสา, คานกับเสา, พื้นกับคาน, แปกับจันทัน, ผนังกระจกกับโครงที่รองรับ ต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงเฉือนและแรงดัด เพื่อป้องกันไม่ให้อาคารหลุดออกจากฐานในกรณีเกิดแผ่นดินไหว

3. การยึดโยงโครงสร้าง (Bracing)

โครงสร้างเหล็ก หรือโครงสร้างไม้ที่ไม่มีการยึดโยง จะพังถล่มลงมาได้ง่ายหากเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ดังนั้นควรมีการยึดโยงชิ้นส่วนทแยงหรือผนังให้แน่นหนา เพื่อให้รับแรงดันทางด้านข้างและแรงบิดตัวได้อย่างเหมาะสม

4. ข้อต่อ (Connection)

ข้อต่อของอาคารต้องแข็งแรง สามารถยึดติดเข้าด้วยกันได้อย่างดี สามารถถ่ายแรงจากชิ้นส่วนหนึ่งไปยังอีกชิ้นส่วนได้โดยไม่หลุดหากเกิดการสั่นไหว

5. ความเหนียวของโครงสร้าง (Ductility)

โครงสร้างต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และมีความเหนียวที่จะยืดหยุ่นและดูดซับพลังงานได้โดยไม่พังทลาย ส่วนวัสดุที่มีความเหนียว เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน จะช่วยให้โครงสร้างสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ดีขึ้น

เสริมเทคโนโลยี

นอกจากการพิจารณารูปแบบอาคาร และการให้โครงสร้างตึกมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวแล้ว การเสริมเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

1. ระบบแยกฐาน (Base Isolation)

ระบบนี้ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยๆได้นำมาใช้ติดตั้งในอาคารแล้ว เป็นระบบป้องกันแผ่นดินไหวในรูปแบบของเสาเข็มโดยไม่เชื่อมติดกัน จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ตรงกลางระหว่างเสาเข็มล่างกับเสาเข็มบน ทำให้สามารถรับแรงกระแทก และการเคลื่อนจากแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบนี้หากแผ่นดินไหวระดับต่ำกว่า 5 ริกเตอร์ คนในอาคารจะไม่รู้สึก และทรัพย์สินไม่เสียหาย แต่หากแผ่นดินไหวระดับ 7 ริกเตอร์ ขึ้นไป อาคารอาจเกิดความเสียหาย แต่ไม่รุนแรง

2. ระบบลดแรงสั่นสะเทือน (Damping System)

ระบบลดแรงสั่นสะเทือนเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในงานวิศวกรรมโครงสร้างอาคาร เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ทำให้แรงที่กระทำต่ออาคารลดลง โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างหลักมากนัก ซึ่งระบบนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินในกรณีเกิดแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี หลักการทำงานของระบบนี้ทำงานคล้ายกับโช้กในรถยนต์ที่ช่วยลดแรงกระแทก ไม่ให้โครงสร้างหลักรับแรงโดยตรง จึงช่วยลดการเคลื่อนตัวและแรงกระแทกระหว่างส่วนต่างๆของอาคาร

3. การออกแบบโครงสร้างให้มีความยืดหยุ่น (Flexible Structural Design)

การออกแบบโครงสร้างให้มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นสูง จะช่วยให้อาคารสามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ดี โดยใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นอย่างเหล็กเสริมแรงและคอนกรีตที่มีคุณสมบัติพิเศษ จะช่วยลดความเสียหายจากการบิดเบือนและการเคลื่อนที่ของอาคารในช่วงแผ่นดินไหวได้

4. เซ็นเซอร์ตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Control Technology)

ใช้เซ็นเซอร์เข้ามาตรวจวัดแรงสั่นสะเทือน และปรับสมดุลอาคารโดยอัตโนมัติ โดยเซ็นเซอร์นี้จะแปลงการเคลื่อนที่ของพื้นดินให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถนำไปวิเคราะห์และประเมินความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดความเสียหายได้มากหากมีความรุนแรงในระดับ 7 ขึ้นไป ดังนั้นในการก่อสร้างโกดัง หรือโรงงาน ควรจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย โดยการทำโครงสร้างอาคารให้แข็งแรงและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

PARK FACTORY ผู้ให้บริการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ

ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY

ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : [email protected]
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8

Scroll to Top