หลายคนอาจคิดว่าการขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ มีความยุ่งยาก จริงๆแล้วการขอหม้อแปลงไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับคุณกัน เกี่ยวกับการขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าว่ามีกี่ขนาด ราคาอย่างไรบ้าง และรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับการขอหม้อแปลงไฟฟ้าที่คุณอยากรู้กันค่ะ

ประเภทของหม้อแปลงไฟฟ้า
ก่อนจะติดตั้งไฟฟ้าเราก็ต้องมารู้จักประเภทของหม้อแปลงไฟฟ้ากันก่อนว่ามีประเภทไหนบ้าง เพื่อจะได้นำไปยื่นขอใช้ไฟฟ้าได้ถูกประเภท ซึ่งก็มีหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดเล็ก
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดกลาง
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับกิจการขนาดใหญ่
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับกิจการเฉพาะอย่าง
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไร
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
- หม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟชั่วคราว
หม้อแปลงไฟฟ้ามีกี่ขนาด? ราคาอย่างไรบ้าง?
หม้อแปลงไฟฟ้ามีหลายขนาดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานและระบบไฟฟ้า โดยทั่วไปมีขนาดดังนี้
จำนวน 1 เฟส 2 สาย
- มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 (15) แอมป์ ราคา 728 บาท
- มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15 (45) แอมป์ ราคา 4,621.50 บาท
- มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 30 (100) แอมป์ ราคา 12,383 บาท
จำนวน 3 เฟส 4 สาย
- มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15 (45) แอมป์ ราคา 16,004.50 บาท
- มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 30 (100) แอมป์ ราคา 38,754 บาท
*เป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
คุณสมบัติของผู้ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
- เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า
- ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่จะขอแจ้งใช้ไฟฟ้า
- ผู้ที่มีสิทธิ์ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมาย หรือตามสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาซื้อขาย เป็นต้น

เอกสารที่ใช้ยื่นติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
1. กรณีติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าถาวร
เอกสารที่ใช้ยื่นขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับบ้านใหม่
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือเดินทาง (กรณีเจ้าบ้านที่ไม่มีสัญชาติไทย)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน)
เอกสารที่ใช้ยื่นขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ออกให้ไม่เกิน 3 เดือน
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
เอกสารที่ใช้ยื่นขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับบ้านเช่า
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาสัญญาเช่าบ้านพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ให้เช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
ในกรณีมอบอำนาจให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอาการแสตมป์ 30 บาท
2. กรณีติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าชั่วคราว (สำหรับใช้ในช่วงก่อสร้าง หรือปรับปรุงบ้าน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- โฉนดที่ดินสถานที่ที่ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าชั่วคราว
การขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
หากผู้ขอหม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่กรุงเทพ สมุทรปราการ และนนทบุรี จะต้องไปทำการขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ส่วนจังหวัดอื่นๆที่นอกเหนือจาก 3 จังหวัดข้างต้น ต้องไปติดต่อขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) แต่หากไม่สะดวกเดินทางไปขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่สำนักงาน การไฟฟ้าก็อำนวยความสะดวกให้สามารถขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ดังนี้
- ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ให้เข้าเว็บ www.mea.or.th หรือแอพพลิเคชั่น Mea Smart Life ใช้ได้ทั้งระบบ ios และ android
- ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ให้เข้าเว็บ www.pea.co.th
เมื่อเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าได้รับเอกสารคำร้องขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าพร้อมเอกสารหลักฐานต่างๆจากผู้ยื่นคำขอถูกต้องครบถ้วนแล้ว ก็จะทำการนัดวันและเวลาเพื่อเข้าพื้นที่ไปดำเนินการตรวจสอบการเดินสายไฟว่ามีความถูกต้องและปลอดภัยหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง ให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามมาตรการที่การไฟฟ้ากำหนด แต่หากการเดินสายไฟมีความถูกต้องและปลอดภัยแล้ว เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าก็จะทำการประเมินค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าให้ แล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปชำระค่าธรรมเนียม จากนั้นก็ให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด และเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานด้วย แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะทำการเข้าไปติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าให้
ระยะเวลาในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนของการดำเนินเอกสารและตรวจสอบการเดินสายไฟ ก็จะเป็นการดำเนินการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าให้ผู้ที่ยื่นคำขอเข้ามา สำหรับระยะเวลาในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสถานที่ใช้ไฟฟ้า หากสถานที่ใช้ไฟฟ้าอยู่ในแหล่งชุมชนจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 5 วันทำการ แต่หากสถานที่ใช้ไฟฟ้าอยู่นอกเขตชุมชนจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 8 วันทำการ นับตั้งแต่รับชำระเงิน
การขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไรเลย หากมีการเตรียมพร้อมเรื่องของเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน ก็สามารถดำเนินการขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างง่ายดายและรวดเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผนระบบไฟฟ้าและน้ำในโกดัง เคล็ดลับในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความปลอดภัย
- ไฟ 30/100 กับ ไฟ 15/45 ต่างกันอย่างไร? โรงงานควรเลือกใช้แบบไหนดี
- ระบบไฟในโกดัง 3 เฟส จำเป็นไหม? พร้อมวิธีการเช็คไฟรั่ว
PARK FACTORY ผู้ให้บริการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ
ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY
ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : [email protected]
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8