สีกันไฟ ช่วยให้โกดังปลอดภัยได้อย่างไร และควรเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐาน

การสร้างโกดังให้ปลอดภัย นอกจากต้องคำนึงถึงวัสดุของโครงสร้างที่ต้องมีความแข็งแรงแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการเกิดเหตุการณ์ทางภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ด้วย โดยเฉพาะการเกิดไฟไหม้ มักพบบ่อยในโกดังตามที่เห็นในข่าว เพราะโกดังเป็นสถานที่จัดเก็บสิ่งของจำนวนมาก ซึ่งสิ่งของนั้นอาจจะเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย หรือเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้กับโกดัง หรือแม้แต่ปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรใช้สีกันไฟ บนโครงสร้างเหล็กของอาคาร เพื่อยืดระยะเวลาการลุกลามของไฟ

สีกันไฟคืออะไร?

สีกันไฟ (Intumescent) คือ สีพิเศษที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยชะลอการลุกลามของไฟ และปกป้องพื้นผิวเหล็ก ไม่ให้สัมผัสกับความร้อนโดยตรงเป็นเวลานานเมื่อเกิดเพลิงไหม้ มีส่วนประกอบของแกลบ อะคริลิก อีพอกซี สารเคมี และสารเคมีพิเศษอื่นๆ สีกันไฟแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • Water Based สีกันไฟสูตรน้ำ มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ช่วยดูดซับความชื้นได้ ถึงแม้เวลาทาแล้วสีจะแห้งช้า แต่ก็มีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเช็ดทำความสะอาดง่ายอีกด้วย
  • Solvent Based สีกันไฟสูตรน้ำมัน มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ มีคุณสมบัติแห้งไว เพราะมีส่วนประกอบของทินเนอร์ กลิ่นจึงแรงเป็นเรื่องปกติ สำหรับสีกันไฟสูตรน้ำมันนี้เป็นสียอดนิยมเนื่องจากใช้ได้ดีทั้งภายในและภายนอก

สีกันไฟช่วยให้โกดังปลอดภัยได้อย่างไร?

สีกันไฟสามารถทนความร้อนได้สูงสุดถึง 1000oC การทนไฟของสีสามารถอยู่ได้นาน 3 ชั่วโมงขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับชนิดของสี) ด้วยคุณสมบัตินี้จึงถือเป็นด่านแรกที่ช่วยป้องกันก่อนที่ไฟจะเข้าไปทำลายโครงสร้างของอาคารเหล็ก จนทำให้เหตุการณ์บานปลาย เป็นตัวช่วยยืดเวลา และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของคนที่อยู่ในโกดังได้ดี เพราะสีกันไฟมีส่วนผสมที่ช่วยลดปริมาณควันพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ จึงทำให้มองเห็นทัศนวิสัยที่ดี และหนีออกมาได้ นอกจากนี้สีกันไฟยังเป็นสีที่มีความทนทานสูง เวลาเกิดไฟไหม้จะช่วยให้เหล็กไม่ได้รับความร้อนโดยตรง เหล็กจึงไม่ทรุดตัวและพังลงมาอย่างง่ายๆ อีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของเปลวไฟไม่ให้ลุกลามไปยังบริเวณพื้นที่อื่นของโกดังด้วย

ดังนั้นสีกันไฟจึงถูกนิยมนำไปใช้ในโรงงาน คลังสินค้า โกดัง โรงแรม อาคารชุด สำนักงาน โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีขนาดใหญ่ จัดเก็บสินค้าสำคัญ นอกจากโครงสร้างเหล็กแล้ว สีกันไฟยังสามารถนำมาใช้กับวัสดุอื่นๆ เช่น คอนกรีต ไม้ ได้ด้วย และยังคงทำหน้าที่ป้องกันไฟได้ดีเหมือนกับเหล็ก

เลือกสีกันไฟอย่างไรให้ได้มาตรฐาน?

สีกันไฟที่ดีต้องมีคุณภาพ และได้รับมาตรฐานตามกฎหมาย ดังนี้

  • มาตรฐานยูแอล UL 263 (Underwriters Laboratories)
  • มาตรฐาน ไอเอสโอ 834 (ISO 834) ตามกฎกระทรวงอุตสาหกรรม
  • มาตรฐาน เอเอสทีเอ็ม อี 119 (ASTME 119) ตามพรบ.ควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • มาตรฐานว่าด้วยวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้านอัคคีภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • มยผ.1333-61 มาตรฐานความคงทนของอาคารเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
  • มยผ.8212-52 มาตรฐานการทดสอบแรงยึดเหนี่ยววัสดุพ่นเคลือบผิวกันไฟ
  • มยผ.8101-52 ข้อกำหนดการควบคุม การใช้งานวัสดุภายในอาคาร
  • มยผ.8302-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างทนไฟ
  • มยผ.8303-52 มาตรฐานประกอบการออกแบบวัสดุและอุปกรณ์ป้องกันการลามไฟ

นอกจากนี้กฎกระทรวงฉบับที่ 60 ยังกำหนดให้ทุกโครงการก่อสร้าง ทั้งอาคารขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ต้องผ่านกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อดูแลในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งมาตรฐานโครงสร้างหลักอาคารที่จำเป็นต้องใช้วัสดุป้องกันไฟโครงสร้างเหล็ก มีดังนี้

  • อาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า, โรงมหรสพ, โรงแรม, อาคารชุด หรือ สถานพยาบาล
  • อาคารสำหรับใช้เพื่อทำกิจกรรม, อาคารพาณิชยกรรม, การอุตสาหกรรม, การศึกษา, การสาธารณสุข, สำนักงาน และที่ทำการที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป หรือพื้นที่ที่มีขนาด 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • อาคารสูง, อาคารขนาดใหญ่, อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรือ อาคารที่ใช้เป็นหอประชุม

ซึ่งโครงสร้างอาคารที่กล่าวข้างต้นนั้น ให้ก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่มีคุณลักษณะ ดังนี้ (กรณีโครงสร้างไม่มีคอนกรีตหุ้ม)
โครงสร้างหลักที่เป็นเสา หรือ คาน ที่ก่อสร้างด้วยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณต้องป้องกันเพื่อให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และมีพื้นที่ให้อัตราทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

  • อาคารชั้นเดียว โครงหลังคาต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
  • อาคาร 2 ชั้นขึ้นไป โครงหลังคาต้องมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
  • โครงหลังคาของอาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังคาเดียวกันไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ไม่ต้องมีอัตราทนไฟ
  • โครงหลังคาของอาคารที่อยู่สูงจากพื้นอาคารเกิน 8 เมตร และอาคารนั้นมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ หรือมีการป้องกันความร้อน หรือระบบระบายความร้อน ไม่ต้องมีอัตราทนไฟ

สีกันไฟเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟไหม้ แต่ทั้งนี้โกดังก็ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีด้วย เช่น มีทางหนีไฟ, มีถังดับเพลิง, มีสัญญาณเตือนไฟไหม้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้ให้ได้มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

PARK FACTORY ผู้ให้บริการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ

ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY

ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : [email protected]
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8

Scroll to Top