หากคุณเป็นผู้ประกอบการคนหนึ่งที่ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี แล้วมีความจำเป็นต้องขยายโกดังให้ใหญ่ขึ้นจากเดิม บางครั้งก็มีความลังเลเกิดขึ้นในใจว่าจะสร้างโกดังเป็นของตัวเอง หรือจะเช่าโกดัง แบบไหนจะดีกว่ากัน? อ่านบทความนี้ อาจช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

สร้างโกดัง ต้องใช้งบเท่าไหร่ ?
งบประมาณในการก่อสร้างโกดังนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นขนาดพื้นที่ของโกดังที่ต้องการก่อสร้าง, ประเภทของโครงสร้าง, วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง, ทำเลที่ตั้ง, ระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภค และอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าถมดิน ค่าปรับพื้นที่ ค่าแรง และค่าออกแบบด้วย
1. ขนาดพื้นที่ของโกดัง
ขนาดพื้นที่ของโกดังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ยิ่งต้องการพื้นที่กว้างค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูง ซึ่งราคาของขนาดพื้นที่โกดัง มีราคาดังนี้
- โกดังขนาดเล็ก พื้นที่ 500 – 1,000 ตารางเมตร ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่อตารางเมตรอยู่ที่ประมาณ 4,500 – 6,500 บาท
- โกดังขนาดกลาง พื้นที่ 1,000 – 3,000 ตารางเมตร ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่อตารางเมตรอยู่ที่ประมาณ 4,000 – 6,000 บาท
- โกดังขนาดใหญ่ พื้นที่ 3,000 – 10,000 ตารางเมตร ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่อตารางเมตรอยู่ที่ประมาณ 3,500 – 6,500 บาท
- โกดังขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่อตารางเมตรอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 5,000 บาท
2. ประเภทของโครงสร้าง
ประเภทของโครงสร้างที่เลือกใช้ในการก่อสร้างโกดัง มีผลอย่างมากต่อต้นทุนและอายุการใช้งาน
- โครงสร้างเหล็ก มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก เป็นที่นิยม แต่ราคาสูง ราคาอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 8,000 บาทต่อตารางเมตร
- โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความแข็งแรงทนทาน เหมาะกับโกดังขนาดใหญ่ ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,000 – 15,000 บาทต่อตารางเมตร
- โครงสร้างสำเร็จรูป ติดตั้งเสร็จเร็ว ราคาถูก แต่มีความแข็งแรงน้อยกว่า 2 แบบข้างบน ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 4,500 บาทต่อตารางเมตร
3. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
คุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ในการก่อสร้างโกดัง มีผลต่องบประมาณอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง รวมถึงหลังคาด้วย
- พื้นคอนกรีตธรรมดา ราคาอยู่ที่ประมาณ 800 – 1,500 บาทต่อตารางเมตร
- พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก รับน้ำหนักได้ดี ใช้งานได้หลากหลาย ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 3,000 บาทต่อตารางเมตร
- พื้นเคลือบ Epoxy เหมาะกับอุตสาหกรรมอาหารและยา ราคาอยู่ที่ประมาณ 500 – 1,500 บาทต่อตารางเมตร
- หลังคาเมทัลชีทแบบธรรมดา ระบายความร้อนได้ดี ราคาประหยัด ราคาอยู่ที่ประมาณ 400 – 800 บาทต่อตารางเมตร
- หลังคาเมทัลชีท PU Foam ช่วยป้องกันความร้อนและเสียงรบกวนได้ ราคาอยู่ที่ประมาณ 900 – 1,500 บาทต่อตารางเมตร
- หลังคา PU Sandwich Panel มีฉนวนกันความร้อนในตัว ช่วยประหยัดค่าไฟจากการเปิดแอร์ได้ ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,200 – 2,000 บาทต่อตารางเมตร
4. ทำเลที่ตั้ง
ราคาทำเลที่ตั้งในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน หากพื้นที่ก่อสร้างโกดังอยู่ติดกับถนนใหญ่ ทางหลวง ทางด่วน รถไฟ ท่าเรือ หรือสนามบิน ก็จะมีราคาสูงกว่า เนื่องจากสะดวกต่อการขนส่งสินค้า วัตถุดิบ และการเดินทางของพนักงาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ทำเลที่ตั้งราคาสูง เช่น ศักยภาพทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของพื้นที่ อุปสงค์และอุปทานของที่ดิน แนวโน้มการพัฒนาในอนาคต เป็นต้น
5. ระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภค
การติดตั้งระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภคมีค่าใช้จ่ายต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดและฟังก์ชันของโกดัง
- ระบบไฟฟ้า ราคาอยู่ที่ประมาณ 500 – 1,500 บาทต่อตารางเมตร
- ระบบปรับอากาศ ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500 – 5,000 บาทต่อตารางเมตร
- ระบบท่อระบายน้ำ ราคาอยู่ที่ประมาณ 500 – 2,000 บาทต่อตารางเมตร
6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าถมดิน ค่าปรับพื้นที่ และค่าแรง ในแต่ละพื้นที่มีราคาแตกต่างกัน ส่วนค่าออกแบบราคาขึ้นอยู่กับขนาดและ ฟังก์ชั่นของโกดัง

สร้างโกดังเองหรือเช่าโกดัง อันไหนดีกว่ากัน?
ทั้งการสร้างโกดัง และเช่าโกดัง จริงๆมันก็มีทั้งข้อดีข้อเสียที่ควรพิจารณา ดังนี้
การสร้างโกดังเอง
ข้อดี
- มีความเป็นเจ้าของ สามารถปรับปรุง ต่อเติม หรือใช้งานโกดังได้อย่างอิสระ
- สามารถออกแบบโกดังได้ตามต้องการ
- มีความมั่นคงระยะยาว โดยไม่ต้องมากังวลกับการขึ้นค่าเช่า หรือการถูกยกเลิกสัญญา เพราะโกดังเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณแล้ว
ข้อเสีย
- ใช้เงินลงทุนสูง ตั้งแต่การซื้อที่ดิน การออกแบบ และการก่อสร้าง
- ต้องเจอกับผู้รับเหมาที่อาจทำงานถูกใจหรือไม่ถูกใจ ต้องมาลุ้นกันเอาเอง
- ต้องมาดำเนินการในเรื่องต่างๆเอง ไม่ว่าจะเป็นการขออนุญาตก่อสร้างโกดัง การติดตั้งระบบน้ำ ไฟฟ้า สาธารณูปโภค เป็นต้น
- ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมทั้งหมด
การเช่าโกดัง
ข้อดี
- สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที
- เมื่อธุรกิจมีการเติบโตสามารถเลือกขนาดและทำเลที่ตั้งโกดังใหม่ได้
- มีค่าเช่าที่แน่นอน ไม่ต้องมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเหมือนกับการสร้างโกดังเอง
ข้อเสีย
- ไม่มีความเป็นเจ้าของ จึงไม่สามารถต่อเติม หรือปรับปรุงโกดังได้ตามใจ
- ค่าเช่าในระยะยาว อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอๆกับการสร้างโกดังเอง
- มีความไม่แน่นอนในสัญญาเช่า ค่าเช่าอาจจะมีการขึ้นราคา หรือถูกยกเลิกสัญญาเมื่อหมดอายุได้
ไม่ว่าจะเป็นสร้างโกดังเองหรือเช่าโกดัง แน่นอนว่าต้องใช้ต้นทุนทั้งหมด สร้างโกดังเองต้องมีต้นทุนในการสร้าง เช่าโกดังก็ต้องมีต้นทุนในการจ่ายค่าเช่าและค่าประกัน แต่อย่างไรก็ตามหากมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อย่างละเอียด ก็จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีและเหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ต่อเติมโกดัง ทำอย่างไรดีให้ประหยัด
- โกดัง 300 – 500 ตร.ม. กรุงเทพ ปริมณฑล เก็บอะไรได้บ้าง
- ขั้นตอนการขอตั้งโรงงาน ทำให้ถูกต้อง ก่อนจะไม่ได้รับอนุญาต
PARK FACTORY ผู้ให้บริการขายโกดัง และให้เช่าโกดังโรงงานสำหรับ SME ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล
หากคุณกำลังมองหาโกดังคลังสินค้า ที่ Park Factory เราเป็นผู้ให้บริการโกดังโรงงานสำหรับ SME ด้วยโครงการสีเขียว สภาพแวดล้อมสวยงามน่าอยู่ ให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดของโกดังทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร หรือ Landscape ออกแบบตามหลักฮวงจุ้ย เพื่อให้ผู้เช่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด → เข้าชมโครงการ
ช่องทางการติดต่อ PARK FACTORY
ที่ตั้ง : 176 ซอยกาญจนาภิเษก 5 แขวงหลักสอง เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
เบอร์โทรติดต่อ : 092-379-7444, 081-751-4440
อีเมล์ : [email protected]
Google Map : https://maps.app.goo.gl/STYgHNRPHGAZZ6SX8